ผ้าขนหนู ผ ส า น ใจ สืบสานภูมิปัญญาชุมชน แต่งเติมด้วยสีสรรจากธรรมชาติเพื่อธรรมชาติอย่างยั่งยืน

Share Post:

ผ้าขนหนู ผ ส า น ใจ สืบสานภูมิปัญญาชุมชน แต่งเติมด้วยสีสรรจากธรรมชาติเพื่อธรรมชาติอย่างยั่งยืน

เรื่องราวของ ผ ส า น

โครงการ "ผ ส า น" โดยโรงพยาบาลในเครือ Principal Healthcare

02 ผ้าขนหนู ผ ส า น ใจ สืบสานภูมิปัญญาชุมชน แต่งเติมด้วยสีสรรจากธรรมชาติเพื่อธรรมชาติอย่างยั่งยืน

ผ้าขนหนู…ผ้าที่ทุกคนใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดผม หรือแม้แต่ผ้าเช็ดตัว ผ้าขนหนูจึงเป็นอีกไอเทมคู่ขวัญของบ้านที่ไม่สามารถขาดได้ ผ้าขนหนูนั้นมีหลายชนิด แล้วบ้านของคุณเลือกใช้ผ้าขนหนูชนิดไหน ?

ประเทศญี่ปุ่นเป็นที่ ๆ ขึ้นชื่อเรื่องของมีความสวยงาม การออกแบบเรียบหรูที่อัดแน่นไปด้วยคุณภาพและมาตรฐาน คุณเชื่อหรือไม่ว่า สินค้าไทยก็สามารถทำคุณภาพได้เทียบเท่าสินค้าญี่ปุ่นและยังส่งออกจนขายดีติดตลาดญี่ปุ่นได้อีกด้วย ใช่แล้ว นั่นคือผ้าขนหนู ผ ส า น ใจจากกลุ่มชนชนบ้านดอนแคน อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด เป็นชุมชนที่ทำผ้าขนหนูผ้าฝ้าย ที่สวยงาม ได้มาตรฐานและยังส่งไปขายสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย

"บ้านดอนแคน" ชุมชนเกษตรกึ่งปศุสัตว์ มีการรวมตัวของกลุ่มสตรีที่มีความรู้ในการทอผ้าฝ้าย จากสีธรรมชาติ รวมเป็นกลุ่มเครือข่าย "หัตถกรรมพรรณไม้" โดยทำไปพร้อมกับการเลี้ยงสัตว์ และปลูกข้าว

สีสันที่สรรสร้างมาจากความงามของธรรมชาติ

ฝ้ายออแกนนิค ที่ผ่านกระบวนการจนเป็นเส้นด้าย ที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ใช้วิธีดึงใยด้วยวิธีแบบดั่งเดิม จนเป็นเส้นฝ้าย ผ่านกระบวนการทอด้วยกี่ทอผ้า ทำให้เกิดผ้าเนื้อดี เบาสบายที่เป็นเอกลักษณ์ของผ้าฝ้าย และอีกขั้นตอนที่ทำให้ผ้าขนหนูนี้เป็นผ้าขนหนูพรีเมี่ยม ส่งออกไปยังต่างประเทศนั้นก็คือการย้อมสีจากสีธรรมชาติ
เปลือกไม้…วัตถุดิบหลักจากธรรมชาติที่สามารถรังสรรค์สีได้สวยงาม ด้วยกรรมวิธีเฉพาะตัวของชาวบ้าน บ้านดอนแคน ที่เป็นเอกลักษณ์ สวยงาม ติดทน สีไม่ตก
จากโรงเรือน สู่มาตรฐานระดับสากล แม้ว่าชุมชนบ้านดอนแคนนั้นจะมีสมาชิกเพียงหลักสิบ แต่ชุมชนยังมีการจัดการที่ดีเยี่ยม ไม่ปล่อยมลพิษสู่ธรรมชาติและใช้ของทุกอย่างที่มาจากธรรมชาติเพื่อให้ผู้รับ ได้รับของที่ดีที่สุด โดยไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม จนชุมชนบ้านดอนแคนนี้ได้รับมาตรฐาน Green Industry

ปลุกจิตวิญญาณสิ่งแวดล้อมกับชุมชนบ้านบุ่งเลิศ อ.เมยวดี จ.ร้อยเอ็ด

ความตั้งใจของชาวบ้านบุ่งเลิศ ชาวภูไทแห่งเดียวในร้อยเอ็ด คือ การสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นจากบรรพบุรุษ คือ การทอผ้าฝ้ายทอมือ โดยมีกระบวนการผลิตตั้งแต่ การปลูกฝ้าย เข็นฝ้าย ทอฝ้าย จนออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อทำสินค้าให้ดีกับคน และสิ่งแวดล้อม แต่เมื่อเวลาผ่านไป “ใคร” คือ คนกลุ่มนั้นที่ต้องการคุณค่าจากสิ่งนี้….
ย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีก่อน บ้านบุ่งเลิศ คือ กลุ่มแรกๆ ที่ทำการทอผ้า จนได้รับคัดเลือกเป็น OTOP ที่เป็นของขึ้นชื่อด้านการทอผ้าพื้นเมือง ใน จ.ร้อยเอ็ด ด้วยเอกลักษณ์การทอแบบเฉพาะตัวและการใช้สีย้อมจากธรรมชาติ ทำให้สินค้าของบ้านบุ่งเลิศนั้นเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง แต่เมื่อมีสินค้าอุตสหกรรมเข้ามามีบทบาทมากขึ้น งานหัตกรรมทอผ้าชุมชน ณ ยุคนั้นไม่เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้คนสนใจในการเลือกสินค้า และสินค้าที่ใช้สีเคมี ที่ราคาถูก ที่มีกรรมวิธีที่เร็วง่ายประหยัดกว่า จึงเป็นตัวเลือกในท้องตลาด บ้านบุ่งเลิศจึงต้องผันตัวใช้สีที่มาจากเคมี เพื่อลดต้นทุน และทำตลาดให้เหมาะกับกลุ่มที่มี ณ ตอนนั้น เพื่อยังคงต้องดิ้นรนแข่งขันกับตลาดทุน เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ให้คนในชุมชน

….ดี มี สุข ดีกับสิ่งแวดล้อม สร้างสุขให้กับชุมชน

“ของที่ดีที่สุด ไม่ใช่แค่ต้องใช้วัตถุดิบชั้นเลิศ แต่ยังต้องมาจากจิตวิญญาณของความใส่ใจ”
แม้ว่าเวลาจะผ่านไปเนิ่นนานขนาดไหน แต่จิตวิญญาณไม่เคยสลายหายไป ความตั้งใจที่จะทำสินค้าออแกนิคยังคงอยู่
การเข้าไปร่วมพัฒนาชุมชนของ “ดี มี สุข” องค์กรพัฒนาเพื่อสังคม ที่ได้ทำให้ชาวบ้าน เหมือนได้ย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นอีกครั้ง การเข้าไปพัฒนาชุมชนและสินค้าของชาวบ้าน ที่มาจากของออแกนิค เพื่อให้คนไทยเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาชุมชน รักษาและสืบทอด ได้ใช้ของดี ราคาจับต้องได้ และชาวบ้านอยู่ได้อย่างยั่งยืน ทำให้ชาวบ้านสามารถกลับไปใช้สีย้อมจากธรรมชาติได้อีกครั้ง ชาวบ้านได้ทำสิ่งที่ต้องการ ธรรมชาติไม่โดนผลกระทบ ผู้รับได้รับคุณค่าจากผลิตภัณฑ์ผ้าทอชุมชนที่มีคุณภาพ

เลือกคุณค่าหรือต้นทุน วัตถุดิบธรรมชาติ กับการผลิตแบบอุตสหกรรม

การใช้สีย้อมจากธรรมชาตินั้น มีกรรมวิธีการผลิตที่ขั้นตอนที่ยุ่งยาก ซับซ้อน ที่แตกต่างจากการย้อมด้วยสีเคมี ทั้งยังต้นทุนที่สูงกว่า แต่นั้นไม่ได้ทำให้ชาวบ้านย่อท้อเพื่อต้องการส่งต่อคุณค่าให้กับผู้บริโภค
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านบุ่งเลิศ ได้ใช้เทคนิคการทอผ้าด้วย “กี่กระตุก” ที่สามารถผลิตได้จำนวน มีศักยภาพในการทอที่สูงและมีคุณภาพ ทุกขั้นตอนยังคงมาตรฐานและความใส่ใจ
วันนี้ กว่า 30 ครอบครัว ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ Covid-19 กว่า 2 ปี ที่ไม่มีงานทอผ้า ขาดรายได้เพื่อเลี้ยงดูครอบครัว “ความหวังและโอกาส” ยังคงเป็นสิ่งที่ชุมชนมองหา

บริษัท ดี มี สุข (ไม่) จำกัด ธุรกิจเพื่อสังคม หนึ่งในโครงการพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในโครงการ SET Social Impact ร่วมกับ กลุ่มบริษัทพริ้นซิเพิล เฮลล์แคร์ และพริ้นซิเพิล แคปปิตอล บริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกัน สร้างโอกาสและความหวัง ให้ชุมชนได้กลับขึ้นมามีรอยยิ้มอีกครั้ง เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ยังคงอยู่ ส่งต่อคุณค่าจากชุมชน สร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน เกื้อกูลกันอย่างยั่งยืนต่อไป

“พริ้นซ์เชื่อว่า การให้ที่ดีที่สุดคือการให้โอกาสอย่างยั่งยืน”